บทความ

ดาวประจำเมือง / ดาวโต้รุ่ง / ดาวประกายพรึก

รูปภาพ
ดาวศุกร์ สีสันตามจริง credit: NASA  via wikimedia ดาวประจำเมือง ดาวโต้รุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก ก็คือดาวศุกร์นั่นเอง ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงได้รับฉายาว่าเป็นฝาแฝดกับโลก แต่นอกจากขนาดแล้วไม่มีอะไรระหว่างโลกกับดาวศุกร์ที่เหมือนกันอีกเลย เช่น ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวสูงถึง 400 องศาเซลเซียส เนื่องจากชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ๆ คนไทยเรียกดาวศุกร์ว่าดาวประจำเมืองหากเห็นตอนหัวค่ำ และเรียกดาวศุกร์ว่าดาวโต้รุ่งหรือดาวประกายพรึกหากเห็นตอนเช้า ที่เป็นเช่นนี้เพราะดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ เราจึงเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ ๆ กับดวงอาทิตย์ ซึ่งก็คือตอนหัวค่ำและตอนเช้านั่นเอง นอกจากดาวศุกร์แล้วเราก็มักเห็นดาวพุธตอนหัวค่ำหรือตอนเช้าเช่นเดียวกัน แต่ดาวพุธอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงมักจะสังเกตเห็นได้ยาก เพราะจะขึ้นและตกเกือบ ๆ พร้อมกับดวงอาทิตย์นั่นเอง ดาวศุกร์มีความสว่างปรากฏ อยู่ระหว่าง -4.9 ถึง -3.8 (แล้วแต่ว่าเห็นเต็มดวงหรือเป็นเสี้ยว) ซ...

ค้นหา exoplanets ด้วย TESS

รูปภาพ
ดวงอาทิตย์ ไม่ใช่ดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวที่มีดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ ดาวฤกษ์ดวงอื่นหลายดวงก็มีดาวเคราะห์โคจรอยู่เช่นเดียวกัน ด้วยโครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (exoplanets) เช่น โครงการของ Kepler ทำให้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วหลายพันดวง ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) นาซาเตรียมค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มเติม ด้วยดาวเทียม TESS ( Transiting Exoplanet Survey Satellite - ดาวเทียมค้นหาการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ) TESS - Transiting Exoplanet Survey Satellite ( NASA ) โดย TESS จะทำการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธีการ planet transit หรือ การเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ ยกเว้นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็น ดาวเคราะห์ในระบบ ดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์ อื่น ๆ อยู่ไกลมาก แสงสะท้อนจากดาวเคราะห์เหล่านั้น น้อยนิดมากและมาไม่ถึงเรา เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ และแม้ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่สามารถมองเห็นได้เช่นกัน ดังนั้...

มีอะไรในกล้องดูดาว

รูปภาพ
กล้องดูดาวประกอบไปด้วยเลนส์และกระจก จึงมีความสามารถในการบังคับทิศทางแสง ทำให้ภาพวัตถุท้องฟ้ามีความสว่างมากขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมองเห็นรายละเอียดได้ กล้องดูดาวแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กล้องดูดาวแบบหักเหแสง (refractor telescope) กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง (reflector telescope) และ กล้องดูดาวแบบผสม (catadioptric telescope) กล้องดูดาวแบบหักเหแสง (refractor telescope)  ประกอบไปด้วยเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) และเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) เลนส์ใกล้วัตถุทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุท้องฟ้าให้มีความสว่างมากขึ้น ส่วนเลนส์ใกล้ตาทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุ กล้องดูดาวแบบหักเหแสง 1. เลนส์ใกล้วัตถุ, 2. เลนส์ใกล้ตา, F จุดโฟกัส กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง (reflector telescope) ประกอบไปด้วยกระจกปฐมภูมิ (primary mirror) กระจกทุติยภูมิ (secondary mirror) และเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) กระจกปฐมภูมิทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุท้องฟ้าให้มีความสว่างมากขึ้น กระจกทุติยภูมิทำหน้าที่หักเหแสงดังกล่าวเข้าสู่เลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้ตาก็ทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุนั้น กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง 1. กระจกปฐมภ...

ดอยม่อนจอง อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่

รูปภาพ
ลูกหาบเหงา วันอาทิตย์ที่ 10 ธันวาคม 2560 เดินทางไปถึงเชียงใหม่เวลา 15:00 น. การบินไปช่วงกลาง ๆ ของวันหยุดยาว และบินกลับในวันทำงาน ทำให้ได้ตั๋วเครื่องบินที่ราคาไม่แพงมาก จากสนามบินเชียงใหม่รับรถเช่าแล้วขับไปทาง อ.จอมทอง ผ่าน อ.ฮอด เพื่อเข้าสู่ อ.อมก๋อย ระยะทางประมาณ 200 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง 30 นาที เส้นทางเลย ฮอด มาแล้วเป็น ถนนสองเลน ขึ้นเขา และทางโค้งเยอะ จึงใช้ความเร็วได้ไม่มากนัก ผมมาถึง อมก๋อย เวลาประมาณ หนึ่งทุ่ม ท้องฟ้ามืดและอากาศเย็น ที่อมก๋อย พักที่เฉลิมพันธ์รีสอร์ท 1 คืน 400 บาท ห้องพัดลม ห้องแอร์นี่ไม่จำเป็น เพราะอากาศเย็น ที่พักดีและอาหารอร่อย เฉลิมพันธ์รีสอร์ท วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 เช็คเอาต์และเดินทางไปกินอาหารเช้าที่ตลาดสดอมก๋อย พร้อมทั้งซื้อข้าวใส่กล่องไปกินเป็นอาหารกลางวัน อาหารเย็น และอาหารเช้าวันถัดไป ข้าวกลางวันเป็นข้าวผัด ส่วนอาหารเย็นเป็นข้าวเหนียวกับไส้อั่ว อย่างหลังอยู่ถึงเช้าก็ไม่เสีย ผมเอากล่องข้าวไปให้แม่ค้าใส่ ซึ่งจะแน่นหนาแข็งแรงและพกสะดวกกว่ากล่องโฟม ผมคิดว่าการค้างบนเขาแค่คืนเดียว ไม่จำเป็นต้องทำอาหาร จ...

ถ่ายรูปดวงจันทร์ครั้งแรก

รูปภาพ
"ดวงจันทร์" เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากถ่ายในเมืองก็ได้ ดังนั้นการถ่ายรูปดวงจันทร์จึงเหมาะมากสำหรับมือใหม่ (อย่างผม) ภาพที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพดวงจันทร์ครั้งแรก ภาพไม่ได้แต่งอะไรนะครับ แค่ crop ภาพตัดส่วนเกินออกเฉย ๆ วันที่ถ่าย: 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา: 18:00 - 19:30 สถานที่: กรุงเทพ ดิถีจันทร์: ขึ้น 5 ค่ำ ความสว่าง 20% อุปกรณ์ 1. กล้องถ่ายรูป ต้องเป็นแบบถอดเลนส์ได้นะครับ จะเป็น mirrorless หรือ DSLR ก็ได้ ผมใช้ Sony Nex F3 2. T-ring เอาไว้ต่อกับกล้องถ่ายรูปแทนเลนส์ รุ่นของ T-ring ขึ้นอยู่กับกล้อง ผมใช้ Sony Nex F3 ก็เลยใช้ T-ring แบบ E-mount สำหรับ Sony Nex ซื้อมาจาก ebay 3. T-adapter เป็นอุปกรณ์ต่อระหว่าง T-ring และกล้องดูดาว T-adapter ของผมมีขนาด 1.25" เท่ากับขนาด eyepiece ของกล้องดูดาวตัวที่จะใช้ ผมซื้อ T-adapter มาพร้อมกับ T-ring 4. กล้องดูดาว เผอิญที่ทำงานตั้งกล้องดูดวงจันทร์ ผมเลยได้รับอานิสงส์ไปด้วย เป็นกล้อง Vixen 102mm ความยาวโฟกัส 1000mm กล้องถ่ายรูป / T-ring / T-adapter *เลนส์กล้องไม่ต้องใช้ Vixen 102mm กล้องเก่ามาก แต่ยัง...

ดูดาวเขาใหญ่ บ้านไร่ลุงคริส

รูปภาพ
ผมขับรถมากว่า 100 กม. เลี้ยวรถออกจากถนนใหญ่เข้าสู่ถนนที่เล็กลงหลายครั้ง ตอนนี้ถนน 2 เลนที่เพิ่งลาดยางเสร็จใหม่ ๆ กำลังนำผมลอดผ่านต้นไม้น้อยใหญ่สองข้างทาง ผมเลี้ยวรถอีกครั้งเข้าสู่ถนนดินเลนเดียว ทางคดเคี้ยวเล็กน้อย รถปรับเป็นเกียร์ต่ำโดยอัตโนมัติวิ่งขึ้นเนินเขาจนสุดถนน บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นตั้งอยู่ทางซ้าย รายล้อมด้วยเต็นต์พักแรม แลดูร่มรื่นใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่ลานทำกิจกรรม เด็ก ๆ เพิ่งกลับมาจากการจับแมลง ส่วนคุณพ่อคุณแม่ก็กำลังง่วนอยู่กับการเตรียมอาหารกลางวันให้ลูก ๆ ตอนบ่ายเด็ก ๆ ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้และไปเล่นน้ำที่ไหลผ่านฝายแบบอ่อยอิ่ง ลัดเลาะไปตามเนินเขาด้านล่าง กิจกรรมปลูกต้นไม้ กิจกรรมของผมเป็นการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ  คุณแคลร์และน้องสาวเจ้าของไร่ ได้เตรียมดาวเคราะห์จำลองเอาไว้ ที่น่าสนใจคือดาวเคราะห์เหล่านี้มีขนาดเป็นไปตามสัดส่วนจริง ซึ่งเมื่อเอามาเรียงกันแล้ว ก็ดูเหมือนมีระบบสุริยะขนาดย่อมมาอยู่ในไร่กลางหุบเขา ระบบสุริยะจำลอง ขนาดมีสัดส่วนเท่าของจริง ผลิตโดยคุณแคลร์และน้องสาวเจ้าของไร่ หลังเด็ก ๆ เล่นน้ำเสร็จ กิจกรรมสำรวจระบบสุริยะก็เริ่มขึ้น กา...