ค้นหา exoplanets ด้วย TESS
ดวงอาทิตย์ ไม่ใช่ดาวฤกษ์เพียงดวงเดียวที่มีดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ ดาวฤกษ์ดวงอื่นหลายดวงก็มีดาวเคราะห์โคจรอยู่เช่นเดียวกัน
ด้วยโครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (exoplanets) เช่น โครงการของ Kepler ทำให้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วหลายพันดวง
ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) นาซาเตรียมค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มเติม ด้วยดาวเทียม TESS ( Transiting Exoplanet Survey Satellite - ดาวเทียมค้นหาการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ)
โดย TESS จะทำการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธีการ planet transit หรือ การเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ ยกเว้นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็น
ดาวเคราะห์ในระบบ ดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์ อื่น ๆ อยู่ไกลมาก แสงสะท้อนจากดาวเคราะห์เหล่านั้น น้อยนิดมากและมาไม่ถึงเรา เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ และแม้ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่สามารถมองเห็นได้เช่นกัน
ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงมองหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะโดยสังเกตการ "ลดทอนความสว่าง" ของดาวฤกษ์ขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านด้านหน้า (planet transit)
จากภาพด้านบน
① ก่อนดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์สว่างตามปกติ
ด้วยโครงการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ (exoplanets) เช่น โครงการของ Kepler ทำให้มีการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะแล้วหลายพันดวง
ในปี พ.ศ. 2561 (ค.ศ. 2018) นาซาเตรียมค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะเพิ่มเติม ด้วยดาวเทียม TESS ( Transiting Exoplanet Survey Satellite - ดาวเทียมค้นหาการเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ)
TESS - Transiting Exoplanet Survey Satellite (NASA) |
โดย TESS จะทำการค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะด้วยวิธีการ planet transit หรือ การเคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ของดาวเคราะห์
ดาวเคราะห์ไม่มีแสงสว่างในตัวเอง ดังนั้นเราจึงไม่สามารถมองเห็นดาวเคราะห์ได้ ยกเว้นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่สะท้อนแสงจากดวงอาทิตย์ เราจึงมองเห็น
ดาวเคราะห์ในระบบ ดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์ อื่น ๆ อยู่ไกลมาก แสงสะท้อนจากดาวเคราะห์เหล่านั้น น้อยนิดมากและมาไม่ถึงเรา เราจึงไม่สามารถมองเห็นได้ และแม้ว่าจะใช้กล้องโทรทรรศน์ใหญ่ขนาดไหน ก็ไม่สามารถมองเห็นได้เช่นกัน
ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงมองหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะโดยสังเกตการ "ลดทอนความสว่าง" ของดาวฤกษ์ขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านด้านหน้า (planet transit)
เมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ลดลง |
จากภาพด้านบน
① ก่อนดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ดาวฤกษ์สว่างตามปกติ
② ขณะที่ดาวเคราะห์เคลื่อนที่ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ลดลง
③ และเมื่อดาวเคราะห์เคลื่อนที่ออกจากดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์ก็กลับมาเป็นปกติ
ดังนั้นหากดาวฤกษ์มีดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ ทุกครั้งที่ดาวเคราะห์ผ่านหน้าดาวฤกษ์ ความสว่างของดาวฤกษ์จะลดลง ความสว่างที่ลดลงอย่างสม่ำเสมอแบบนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์บอกได้ว่า ดาวฤกษ์ดวงนั้นมีดาวเคราะห์โคจรอยู่โดยรอบ
นอกจากนี้ด้วยการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและการคำนวณ นักวิทยาศาสตร์สามารถบอก ขนาด มวล ของดาวเคราะห์ และ ระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์และดาวฤกษ์ของมันได้ (เพิ่มเติมในบทความนี้)
จรวด Falcon 9 (SpaceX) |
TESS จะทำการสังเกตการลดทอนความสว่างของดาวฤกษ์ประมาณ 200,000 ดวงใกล้ดวงอาทิตย์ นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะเจอดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะหลายพันดวงจากโครงการนี้ โดยที่ประมาณ 300 ดวง น่าจะเป็นดาวเคราะห์ขนาดเท่ากับโลกหรือใหญ่กว่าโลกแต่ยังเป็นของแข็งอยู่ (super-Earth-sized planets) และหลายดวงใน 300 ร้อยดวงนี้ก็อาจมีสภาวะเหมาะสมต่อการมีสิ่งมีชีวิต
TESS จะถูกส่งเข้าสู่วงโคจรในวันที่ 18 เมษายน 2561 หรืออย่างช้าที่สุดไม่เกินเดือน มิถุนายนในปีเดียวกัน ด้วยจรวด Falcon 9 ของบริษัท SpaceX
TESS จะใช้เวลาทั้งหมด 2 ปี ในการสังเกตการลดทอนความสว่างของดาวฤกษ์ เพื่อค้นหาดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ
อีกไม่นานเราอาจเจอดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาอาศัยอยู่เหมือนกับโลกของเราก็เป็นได้ และดาวเคราะห์เหล่านี้ ก็อยู่ไม่ไกลจากระบบสุริยะของเราด้วย
อีกไม่นานเราอาจเจอดาวเคราะห์ที่มีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาอาศัยอยู่เหมือนกับโลกของเราก็เป็นได้ และดาวเคราะห์เหล่านี้ ก็อยู่ไม่ไกลจากระบบสุริยะของเราด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น