ดาวประจำเมือง / ดาวโต้รุ่ง / ดาวประกายพรึก

ดาวศุกร์ สีสันตามจริง
credit: NASA  via wikimedia

ดาวประจำเมือง ดาวโต้รุ่ง หรือ ดาวประกายพรึก ก็คือดาวศุกร์นั่นเอง

ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงได้รับฉายาว่าเป็นฝาแฝดกับโลก แต่นอกจากขนาดแล้วไม่มีอะไรระหว่างโลกกับดาวศุกร์ที่เหมือนกันอีกเลย เช่น ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่ร้อนที่สุดในระบบสุริยะ มีอุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวสูงถึง 400 องศาเซลเซียส เนื่องจากชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจกที่รุนแรงมาก ๆ

คนไทยเรียกดาวศุกร์ว่าดาวประจำเมืองหากเห็นตอนหัวค่ำ และเรียกดาวศุกร์ว่าดาวโต้รุ่งหรือดาวประกายพรึกหากเห็นตอนเช้า ที่เป็นเช่นนี้เพราะดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ เราจึงเห็นดาวศุกร์อยู่ใกล้ ๆ กับดวงอาทิตย์ ซึ่งก็คือตอนหัวค่ำและตอนเช้านั่นเอง

นอกจากดาวศุกร์แล้วเราก็มักเห็นดาวพุธตอนหัวค่ำหรือตอนเช้าเช่นเดียวกัน แต่ดาวพุธอยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มากที่สุด จึงมักจะสังเกตเห็นได้ยาก เพราะจะขึ้นและตกเกือบ ๆ พร้อมกับดวงอาทิตย์นั่นเอง

ดาวศุกร์มีความสว่างปรากฏ อยู่ระหว่าง -4.9 ถึง -3.8 (แล้วแต่ว่าเห็นเต็มดวงหรือเป็นเสี้ยว) ซึ่งถือว่ามีความสว่างมาก ๆ สามารถมองเห็นจากเมืองใหญ่ ๆ ได้ (อ่านเรื่องความสว่างปรากฏเพิ่มเติมได้ ที่นี่)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รายชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม