มีอะไรในกล้องดูดาว

กล้องดูดาวประกอบไปด้วยเลนส์และกระจก จึงมีความสามารถในการบังคับทิศทางแสง ทำให้ภาพวัตถุท้องฟ้ามีความสว่างมากขึ้นหรือมีขนาดใหญ่ขึ้นจนมองเห็นรายละเอียดได้

กล้องดูดาวแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ กล้องดูดาวแบบหักเหแสง (refractor telescope) กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง (reflector telescope) และ กล้องดูดาวแบบผสม (catadioptric telescope)



กล้องดูดาวแบบหักเหแสง (refractor telescope) ประกอบไปด้วยเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) และเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) เลนส์ใกล้วัตถุทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุท้องฟ้าให้มีความสว่างมากขึ้น ส่วนเลนส์ใกล้ตาทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุ

กล้องดูดาวแบบหักเหแสง

1. เลนส์ใกล้วัตถุ, 2. เลนส์ใกล้ตา, F จุดโฟกัส



กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง (reflector telescope) ประกอบไปด้วยกระจกปฐมภูมิ (primary mirror) กระจกทุติยภูมิ (secondary mirror) และเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) กระจกปฐมภูมิทำหน้าที่รวมแสงจากวัตถุท้องฟ้าให้มีความสว่างมากขึ้น กระจกทุติยภูมิทำหน้าที่หักเหแสงดังกล่าวเข้าสู่เลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้ตาก็ทำหน้าที่ขยายภาพของวัตถุนั้น

กล้องดูดาวแบบสะท้อนแสง

1. กระจกปฐมภูมิ, 2. กระจกทุติยภูมิ, 3. เลนส์ใกล้ตา, F จุดโฟกัส




กล้องดูดาวแบบผสม (catadioptric telescope) ประกอบไปด้วย เลนส์ปรับแก้ภาพ (corrector plate) กระจกปฐมภูมิ (primary mirror) กระจกทุติยภูมิ (secondary mirror) และ เลนส์ใกล้ตา (eyepiece)

เลนส์หรือกระจกมีความคลาดทรงกลม (spherical abberation) เกิดจากแสงทั้งหมดที่หักเหจากเลนส์หรือสะท้อนจากกระจกไม่ไปโฟกัสที่จุดเดียวกัน ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพลดลง กระจกปฐมภูมิในกล้องดูดาวก็เกิดความคลาดทรงกลมเช่นกัน ดังนั้นในกล้องดูดาวแบบผสมจึงมีการใช้เลนส์ปรับแก้ภาพเพื่อบังคับให้แสงทั้งหมดไปตกกระทบที่กระจกปฐมภูมิแล้วสะท้อนแสงไปยังจุดโฟกัสได้พอดี ทำให้ได้ภาพวัตถุท้องฟ้าที่มีคุณภาพสูงกว่ากล้องดูดาวประเภทอื่น

ส่วนกระจกทุติยภูมิก็ทำหน้าที่สะท้องแสงจากกระจกปฐมภูมิเข้าสู่เลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้ตาก็ขยายภาพวัตถุท้องฟ้า ทำให้สามารถเห็นรายละเอียดต่าง ๆ ได้

1. เลนส์ปรับแก้ภาพ, 2. กระจกปฐมภูมิ, 3. กระจกทุติยภูมิ, 4. เลนส์ใกล้ตา, F จุดโฟกัส

กล้องดุดาวแบบผสม (wikipedia) 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รายชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม

ดาวประจำเมือง / ดาวโต้รุ่ง / ดาวประกายพรึก