ถ่ายรูปดวงจันทร์ครั้งแรก
"ดวงจันทร์" เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากถ่ายในเมืองก็ได้ ดังนั้นการถ่ายรูปดวงจันทร์จึงเหมาะมากสำหรับมือใหม่ (อย่างผม)
วันที่ถ่าย: 23 พฤศจิกายน 2560
เวลา: 18:00 - 19:30
สถานที่: กรุงเทพ
ดิถีจันทร์: ขึ้น 5 ค่ำ ความสว่าง 20%
อุปกรณ์
1. กล้องถ่ายรูป ต้องเป็นแบบถอดเลนส์ได้นะครับ จะเป็น mirrorless หรือ DSLR ก็ได้ ผมใช้ Sony Nex F3
2. T-ring เอาไว้ต่อกับกล้องถ่ายรูปแทนเลนส์ รุ่นของ T-ring ขึ้นอยู่กับกล้อง ผมใช้ Sony Nex F3 ก็เลยใช้ T-ring แบบ E-mount สำหรับ Sony Nex ซื้อมาจาก ebay
3. T-adapter เป็นอุปกรณ์ต่อระหว่าง T-ring และกล้องดูดาว T-adapter ของผมมีขนาด 1.25" เท่ากับขนาด eyepiece ของกล้องดูดาวตัวที่จะใช้ ผมซื้อ T-adapter มาพร้อมกับ T-ring
4. กล้องดูดาว เผอิญที่ทำงานตั้งกล้องดูดวงจันทร์ ผมเลยได้รับอานิสงส์ไปด้วย เป็นกล้อง Vixen 102mm ความยาวโฟกัส 1000mm
การตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
1. ตั้ง Release W/O Lens ให้เป็น enable (น่าจะอยู่ใน set up ของกล้องทุกตัว) เมื่อเราถอดเลนส์กล้องออก กล้องจะไม่ยอมถ่ายภาพ แต่เมื่อเซ็ตค่านี้ให้เป็น enable กล้องมันจะรู้ว่าเราจะถ่ายแบบไม่มีเลนส์ เพราะเราจะใช้เลนส์ของกล้องดูดาวแทน
2. ตั้งโฟกัสเป็น manual focus เพราะเราจะไปปรับโฟกัสที่ตัวกล้องดูดาวแทน
3. ตั้งค่า ISO ที่ 200 อ่านจากหลายเวปเขาบอกว่า ดวงจันทร์มีความสว่าง ดังนั้นใช้ ISO 200-400 ก็พอ
4. ค่า F stop หรือ F ratio ไม่ต้องตั้ง เพราะใช้เลนส์กล้องดูดาว ดังนั้น F ratio คำนวนได้จาก ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุหารด้วยขนาดของเลนส์ใกล้วัตถุ ซึ่งก็คือ 1000mm/102mm = 9.8 หรือ f/9.8
5. ตั้งค่า Shutter speed ผมเริ่มที่ 1/15s และรู้สึกว่าจะเป็นค่าที่เหมาะสม ลองปรับให้ช้ากว่านี้ดวงจันทร์ดูสว่างเกินไป ปรับให้ไวกว่านี้ดวงจันทร์ก็ดูมืดเกินไป
การถ่ายภาพ
ภาพที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพดวงจันทร์ครั้งแรก ภาพไม่ได้แต่งอะไรนะครับ แค่ crop ภาพตัดส่วนเกินออกเฉย ๆ |
วันที่ถ่าย: 23 พฤศจิกายน 2560
เวลา: 18:00 - 19:30
สถานที่: กรุงเทพ
ดิถีจันทร์: ขึ้น 5 ค่ำ ความสว่าง 20%
อุปกรณ์
1. กล้องถ่ายรูป ต้องเป็นแบบถอดเลนส์ได้นะครับ จะเป็น mirrorless หรือ DSLR ก็ได้ ผมใช้ Sony Nex F3
2. T-ring เอาไว้ต่อกับกล้องถ่ายรูปแทนเลนส์ รุ่นของ T-ring ขึ้นอยู่กับกล้อง ผมใช้ Sony Nex F3 ก็เลยใช้ T-ring แบบ E-mount สำหรับ Sony Nex ซื้อมาจาก ebay
3. T-adapter เป็นอุปกรณ์ต่อระหว่าง T-ring และกล้องดูดาว T-adapter ของผมมีขนาด 1.25" เท่ากับขนาด eyepiece ของกล้องดูดาวตัวที่จะใช้ ผมซื้อ T-adapter มาพร้อมกับ T-ring
4. กล้องดูดาว เผอิญที่ทำงานตั้งกล้องดูดวงจันทร์ ผมเลยได้รับอานิสงส์ไปด้วย เป็นกล้อง Vixen 102mm ความยาวโฟกัส 1000mm
กล้องถ่ายรูป / T-ring / T-adapter *เลนส์กล้องไม่ต้องใช้ |
Vixen 102mm กล้องเก่ามาก แต่ยังใช้ได้ดี |
การตั้งค่ากล้องถ่ายรูป
1. ตั้ง Release W/O Lens ให้เป็น enable (น่าจะอยู่ใน set up ของกล้องทุกตัว) เมื่อเราถอดเลนส์กล้องออก กล้องจะไม่ยอมถ่ายภาพ แต่เมื่อเซ็ตค่านี้ให้เป็น enable กล้องมันจะรู้ว่าเราจะถ่ายแบบไม่มีเลนส์ เพราะเราจะใช้เลนส์ของกล้องดูดาวแทน
2. ตั้งโฟกัสเป็น manual focus เพราะเราจะไปปรับโฟกัสที่ตัวกล้องดูดาวแทน
3. ตั้งค่า ISO ที่ 200 อ่านจากหลายเวปเขาบอกว่า ดวงจันทร์มีความสว่าง ดังนั้นใช้ ISO 200-400 ก็พอ
4. ค่า F stop หรือ F ratio ไม่ต้องตั้ง เพราะใช้เลนส์กล้องดูดาว ดังนั้น F ratio คำนวนได้จาก ความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุหารด้วยขนาดของเลนส์ใกล้วัตถุ ซึ่งก็คือ 1000mm/102mm = 9.8 หรือ f/9.8
5. ตั้งค่า Shutter speed ผมเริ่มที่ 1/15s และรู้สึกว่าจะเป็นค่าที่เหมาะสม ลองปรับให้ช้ากว่านี้ดวงจันทร์ดูสว่างเกินไป ปรับให้ไวกว่านี้ดวงจันทร์ก็ดูมืดเกินไป
การถ่ายภาพ
1. นำเลนส์ใกล้ตาของกล้องดูดาวออก แล้วนำกล้องถ่ายรูปของเราตรง T-adapter เสียบเข้าไป
2. ปรับโฟกัสที่กล้องดูดาวจนภาพดวงจันทร์บนจอ LCD ชัด
3. ใช้การตั้งเวลาในการถ่ายภาพ ผมตั้งที่ 10 วินาที กดปุ๊บ เอามือออก กล้องจะได้ไม่สั่น ภาพดวงจันทร์จะได้ชัด
4. ถ่ายหลาย ๆ ภาพ เผื่อไว้เยอะ ๆ แล้วมาดูผลงานผ่านจอคอมพ์
ผมถ่ายภาพมารวมทั้งหมด 25 ภาพ พอว่างก็เอากล้องเสียบแล้วถ่าย พอเด็กมาก็สลับเอา eyepiece ใส่ให้เด็ก ๆ ดู จากนั้นกลับถึงบ้านเอาเข้าคอมพ์แล้วเลือก บางภาพก็เบลอเพราะยังโฟกัสได้ไม่ดี บางภาพก็มืดไปสว่างไป แต่สุดท้ายแล้วก็ได้ภาพที่คิดว่าดีที่สุดมาใส่ไว้บนสุดของโพสต์นี้จนได้
สิ่งที่ต้องปรับปรุงสำหรับการถ่ายในครั้งต่อไป
1. ใช้ peak level ช่วยในการปรับโฟกัสของภาพ การถ่ายครั้งนี้ผมต้องดูภาพจากจอ LCD ว่าดวงจันทร์ชัดหรือยัง แล้วจึงกดชัตเตอร์ ซึ่งการดูความชัดของดวงจันทร์จากจอ LCD นั้นยากมาก ๆ เพื่อนคนหนึ่งจึงแนะนำว่าให้ใช้ peak level ช่วย (เพิ่งรู้ว่ามีฟังชันก์นี้) peak level จะช่วยบอกเราว่าวัตถุในภาพนั้นโฟกัสหรือยัง โดยจะมีแถบสีขึ้นในภาพให้เราเห็นเลยว่าตรงไหนของวัตถุที่โฟกัสแล้ว
2. ใช้เวลาให้มากกว่านี้ ผมอยากทดลองการปรับค่าต่าง ๆ เช่น shutter speed และ ISO และดูผลของภาพถ่ายจากจอคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จอ LCD ของกล้อง แต่ต้องให้บริการกับเด็ก ๆ ด้วย เลยใช้เวลามากไม่ได้
3. ทดลองใช้ filter ดูดวงจันทร์ ผมมี filter ดูดวงจันทร์อยู่แล้ว ปกติใช้เพื่อช่วยลดการเกิด sky glow ทำให้เห็นดวงจันทร์ชัดขึ้น อยากจะลองใส่ filter ดูดวงจันทร์แล้วดูว่าจะทำให้ภาพดวงจันทร์ชัดขึ้นไหม
4. ถอดสายคล้องคอกล้องออก ตอนแรกไม่คิดเลยว่าสายคล้องคอกล้องจะเป็นปัญหา แต่เราไปโดนนิดนึงมันก็แกว่งแล้ว อาจทำให้กล้องสั่นจนภาพเบลอได้
5. จะฝึก develop ภาพจากโปรแกรมต่าง ๆ
สรุป
การถ่ายภาพวัตถุทางดาราศาสตร์ครั้งนี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ดูพร้อมพอสมควร ขาดเวลา และรายละเอียดเทคนิคการใช้กล้องถ่ายภาพ รูปที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับตัวเอง
ป.ล. ไม่มีกล้องดูดาวสามารถใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 200mm ได้ครับ
3. ใช้การตั้งเวลาในการถ่ายภาพ ผมตั้งที่ 10 วินาที กดปุ๊บ เอามือออก กล้องจะได้ไม่สั่น ภาพดวงจันทร์จะได้ชัด
4. ถ่ายหลาย ๆ ภาพ เผื่อไว้เยอะ ๆ แล้วมาดูผลงานผ่านจอคอมพ์
การต่อกล้องถ่ายรูปเข้ากับกล้องดูดาว กลม ๆ สีดำที่กล้องดูดาวคือตัวปรับโฟกัส |
ผมถ่ายภาพมารวมทั้งหมด 25 ภาพ พอว่างก็เอากล้องเสียบแล้วถ่าย พอเด็กมาก็สลับเอา eyepiece ใส่ให้เด็ก ๆ ดู จากนั้นกลับถึงบ้านเอาเข้าคอมพ์แล้วเลือก บางภาพก็เบลอเพราะยังโฟกัสได้ไม่ดี บางภาพก็มืดไปสว่างไป แต่สุดท้ายแล้วก็ได้ภาพที่คิดว่าดีที่สุดมาใส่ไว้บนสุดของโพสต์นี้จนได้
สิ่งที่ต้องปรับปรุงสำหรับการถ่ายในครั้งต่อไป
1. ใช้ peak level ช่วยในการปรับโฟกัสของภาพ การถ่ายครั้งนี้ผมต้องดูภาพจากจอ LCD ว่าดวงจันทร์ชัดหรือยัง แล้วจึงกดชัตเตอร์ ซึ่งการดูความชัดของดวงจันทร์จากจอ LCD นั้นยากมาก ๆ เพื่อนคนหนึ่งจึงแนะนำว่าให้ใช้ peak level ช่วย (เพิ่งรู้ว่ามีฟังชันก์นี้) peak level จะช่วยบอกเราว่าวัตถุในภาพนั้นโฟกัสหรือยัง โดยจะมีแถบสีขึ้นในภาพให้เราเห็นเลยว่าตรงไหนของวัตถุที่โฟกัสแล้ว
2. ใช้เวลาให้มากกว่านี้ ผมอยากทดลองการปรับค่าต่าง ๆ เช่น shutter speed และ ISO และดูผลของภาพถ่ายจากจอคอมพิวเตอร์ ไม่ใช่จอ LCD ของกล้อง แต่ต้องให้บริการกับเด็ก ๆ ด้วย เลยใช้เวลามากไม่ได้
3. ทดลองใช้ filter ดูดวงจันทร์ ผมมี filter ดูดวงจันทร์อยู่แล้ว ปกติใช้เพื่อช่วยลดการเกิด sky glow ทำให้เห็นดวงจันทร์ชัดขึ้น อยากจะลองใส่ filter ดูดวงจันทร์แล้วดูว่าจะทำให้ภาพดวงจันทร์ชัดขึ้นไหม
4. ถอดสายคล้องคอกล้องออก ตอนแรกไม่คิดเลยว่าสายคล้องคอกล้องจะเป็นปัญหา แต่เราไปโดนนิดนึงมันก็แกว่งแล้ว อาจทำให้กล้องสั่นจนภาพเบลอได้
5. จะฝึก develop ภาพจากโปรแกรมต่าง ๆ
สรุป
การถ่ายภาพวัตถุทางดาราศาสตร์ครั้งนี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ดูพร้อมพอสมควร ขาดเวลา และรายละเอียดเทคนิคการใช้กล้องถ่ายภาพ รูปที่ออกมาเป็นที่น่าพอใจสำหรับตัวเอง
ป.ล. ไม่มีกล้องดูดาวสามารถใช้เลนส์ที่มีความยาวโฟกัสมากกว่า 200mm ได้ครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น