บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2017

ถ่ายรูปดวงจันทร์ครั้งแรก

รูปภาพ
"ดวงจันทร์" เป็นวัตถุท้องฟ้าที่มีความสว่างมากถ่ายในเมืองก็ได้ ดังนั้นการถ่ายรูปดวงจันทร์จึงเหมาะมากสำหรับมือใหม่ (อย่างผม) ภาพที่ดีที่สุดในการถ่ายภาพดวงจันทร์ครั้งแรก ภาพไม่ได้แต่งอะไรนะครับ แค่ crop ภาพตัดส่วนเกินออกเฉย ๆ วันที่ถ่าย: 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา: 18:00 - 19:30 สถานที่: กรุงเทพ ดิถีจันทร์: ขึ้น 5 ค่ำ ความสว่าง 20% อุปกรณ์ 1. กล้องถ่ายรูป ต้องเป็นแบบถอดเลนส์ได้นะครับ จะเป็น mirrorless หรือ DSLR ก็ได้ ผมใช้ Sony Nex F3 2. T-ring เอาไว้ต่อกับกล้องถ่ายรูปแทนเลนส์ รุ่นของ T-ring ขึ้นอยู่กับกล้อง ผมใช้ Sony Nex F3 ก็เลยใช้ T-ring แบบ E-mount สำหรับ Sony Nex ซื้อมาจาก ebay 3. T-adapter เป็นอุปกรณ์ต่อระหว่าง T-ring และกล้องดูดาว T-adapter ของผมมีขนาด 1.25" เท่ากับขนาด eyepiece ของกล้องดูดาวตัวที่จะใช้ ผมซื้อ T-adapter มาพร้อมกับ T-ring 4. กล้องดูดาว เผอิญที่ทำงานตั้งกล้องดูดวงจันทร์ ผมเลยได้รับอานิสงส์ไปด้วย เป็นกล้อง Vixen 102mm ความยาวโฟกัส 1000mm กล้องถ่ายรูป / T-ring / T-adapter *เลนส์กล้องไม่ต้องใช้ Vixen 102mm กล้องเก่ามาก แต่ยัง...

ดูดาวเขาใหญ่ บ้านไร่ลุงคริส

รูปภาพ
ผมขับรถมากว่า 100 กม. เลี้ยวรถออกจากถนนใหญ่เข้าสู่ถนนที่เล็กลงหลายครั้ง ตอนนี้ถนน 2 เลนที่เพิ่งลาดยางเสร็จใหม่ ๆ กำลังนำผมลอดผ่านต้นไม้น้อยใหญ่สองข้างทาง ผมเลี้ยวรถอีกครั้งเข้าสู่ถนนดินเลนเดียว ทางคดเคี้ยวเล็กน้อย รถปรับเป็นเกียร์ต่ำโดยอัตโนมัติวิ่งขึ้นเนินเขาจนสุดถนน บ้านไม้ชั้นเดียวยกพื้นตั้งอยู่ทางซ้าย รายล้อมด้วยเต็นต์พักแรม แลดูร่มรื่นใต้ต้นไม้ใหญ่ ที่ลานทำกิจกรรม เด็ก ๆ เพิ่งกลับมาจากการจับแมลง ส่วนคุณพ่อคุณแม่ก็กำลังง่วนอยู่กับการเตรียมอาหารกลางวันให้ลูก ๆ ตอนบ่ายเด็ก ๆ ทำกิจกรรมปลูกต้นไม้และไปเล่นน้ำที่ไหลผ่านฝายแบบอ่อยอิ่ง ลัดเลาะไปตามเนินเขาด้านล่าง กิจกรรมปลูกต้นไม้ กิจกรรมของผมเป็นการสอนให้เด็ก ๆ รู้จักดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ  คุณแคลร์และน้องสาวเจ้าของไร่ ได้เตรียมดาวเคราะห์จำลองเอาไว้ ที่น่าสนใจคือดาวเคราะห์เหล่านี้มีขนาดเป็นไปตามสัดส่วนจริง ซึ่งเมื่อเอามาเรียงกันแล้ว ก็ดูเหมือนมีระบบสุริยะขนาดย่อมมาอยู่ในไร่กลางหุบเขา ระบบสุริยะจำลอง ขนาดมีสัดส่วนเท่าของจริง ผลิตโดยคุณแคลร์และน้องสาวเจ้าของไร่ หลังเด็ก ๆ เล่นน้ำเสร็จ กิจกรรมสำรวจระบบสุริยะก็เริ่มขึ้น กา...

การทำงานของกล้องดูดาว

รูปภาพ
การเดินทางของแสงและการเกิดภาพในกล้องดูดาว กล้องดูดาวหรือกล้องโทรทรรศน์ประกอบไปด้วยเลนส์นูน 2 ตัว  เลนส์นูนตัวที่ 1 คือเลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) และ เลนส์นูนตัวที่ 2 คือเลนส์ใกล้ตา (eyepiece) สมมติให้วัตถุท้องฟ้าเป็นลูกศรชี้ขึ้น อยู่ที่ระยะอนันต์ และไม่เห็นในภาพ เมื่อแสงเดินทางมาจากวัตถุเข้าสู่  เลนส์นูนตัวที่ 1 ทางซ้าย   เลนส์นี้ทำหน้าที่รวมแสง ให้ไปโฟกัสที่จุด  F1  ได้ภาพกลับหัวขนาดเล็กกว่าวัตถุ (ลูกศรสีฟ้าชี้ลง) และมีความสว่างมากขึ้น ภาพที่จุด F 1  อยู่ระหว่างจุดโฟกัส F2 และ เลนส์นูนตัวที่ 2 ทำให้ภาพที่เกิดจาก เลนส์นูนตัวที่ 2  มีขนาดใหญ่ขึ้นและไม่กลับหัว (ลูกศรสีชมพูมีทิศทางเดียวกับลูกศรสีฟ้า) เมื่อภาพของวัตถุมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็สามารถเห็นรายละเอียดของวัตถุมากขึ้น การใช้เลนส์นูน 2 ตัวเรียงกันแบบนี้ เป็นหลักการทำงานของกล้องโทรทรรศน์แบบหักเหแสง (refractor telescopes) ทำให้สามารถเห็นวัตถุบนท้องฟ้าที่มีความสว่างน้อยได้ สามารถเห็นรายละเอียดของวัตถุที่มีขนาดปรากฏเล็ก ๆ เช่น ดาวเคราะห์ได้ และสามารถเห็นดาวที่อยู่ใกล้กันมาก ๆ เช่น ดาวคู่ แยก...

รายชื่อกลุ่มดาว 88 กลุ่ม

รูปภาพ
กลุ่มดาว สร้างโดยโปรแกรม stellarium กลุ่มดาว (Constellations) เกิดจากการเชื่อมโยงตำแหน่งของดวงดาวบนท้องฟ้า แล้วจินตนาการเป็นรูปคนบ้าง สัตว์บ้าง สิ่งของบ้าง ตั้งแต่ดั้งเดิม กลุ่มดาวเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นอย่างไม่เป็นทางการและมีความแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น จนถึงต้นศตวรรษที่ 20 ด้วยความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และอุปกรณ์สำรวจท้องฟ้า ทำให้มีการค้นพบวัตถุบนท้องฟ้าใหม่ ๆ มากมาย นักดาราศาสตร์มีแนวความคิดว่า การกำหนดขอบเขตของกลุ่มดาวให้เป็นทางการ จะเป็นประโยชน์ในการศึกษาวัตถุท้องฟ้า และสามารถใช้ชื่อกลุ่มดาวประกอบการตั้งชื่อดาวแปรแสง (variable stars) ได้ (อ้างอิง : IAU ) ตามสากลมีกลุ่มดาวบนท้องฟ้าทั้งหมด 88 กลุ่มดังนี้ ชื่อละติน ชื่ออังกฤษ ชื่อไทย Andromeda Andromeda กลุ่มดาวแอนดรอเมดา Antlia Air Pump กลุ่มดาวเครื่องสูบลม Apus Bird of Paradise กลุ่มดาวนกการเวก Aquarius Water Carrier กลุ่มดาวคนแบกหม้อน้ำ, กลุ่มดาวกุมภ์ Aquila Eagle กลุ่มดาวนกอินทรี Ara Altar กลุ่มดาว...