บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2017

TRAPPIST-1 กับดาวเคราะห์ทั้ง 7

รูปภาพ
ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์เจอดาวเคราะห์รอบดาวฤกษ์ดวงอื่น แต่เป็นครั้งแรกที่เจอมากถึง 7 ดวงและคล้ายคลึงกับโลก นอกจากนี้ 3 ใน 7 ดวงนี้ก็อาจมีสภาวะเหมาะสมต่อการดำรงค์ชีพของสิ่งมีชีวิต ภาพสเก็ตช์ (NASA)  ระบบ Trappist-1 เป็นระบบดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์ มีดาวฤกษ์ตรงกลาง 1 ดวง และมีดาวเคราะห์โคจรรอบ ๆ อีก 7 ดวง อยู่ห่างจากเรา 40 ปีแสง ในกลุ่มดาวคนแบบหม้อน้ำ [Aquarius] กล้องโทรทรรศน์ TRAPPIST (ESO) Trappist-1 เป็นชื่อดาวฤกษ์ของระบบและเป็นชื่อของระบบนี้ด้วย แบบเดียวกับที่เราเรียก "ระบบสุริยะ" ซึ่งมีดาวฤกษ์ตรงกลางคือ "สุริยะ" หรือ "ดวงอาทิตย์" ชื่อนี้ได้มาจากการตั้งชื่อตามกล้องโทรทรรศน์ Trappist [The Transiting Planets and Planetesimals Small Telescope] ในประเทศชิลี ซึ่งเป็นกล้องตัวแรกที่พบว่าดาวฤกษ์ดวงนี้มีดาวเคราะห์ ส่วนเลข "1" ก็หมายความว่ากล้องตัวนี้พบระบบดาวฤกษ์-ดาวเคราะห์นี้เป็นระบบแรกตั้งแต่เปิดใช้งานมา ...ประมาณว่าฉันเจอเธอก่อนและเธอก็เป็นคนแรกของฉัน ❤ Trappist-1 เป็นดาวฤกษ์เล็กกว่าดวงอาทิตย์ 10 เท่า หรือใหญ่กว่าดาวพฤหัส...

อำลาหน้าหนาว ดูดาวบนดอยอินทนนท์

รูปภาพ
หนึ่งทุ่ม วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2560 ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว อากาศบนดอยอินทนนท์เริ่มเย็นตัวลง รถของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ นำหน้ารถตู้ของเราไปตามทางคดเคี้ยวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ก่อนเลี้ยวซ้ายผ่านป้ายสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ คนขับใช้เกียร์ต่ำและเร่งเครื่องขึ้นเนินสูงชั้น เมื่อสุดถนน หอดูดาวขนาดใหญ่ก็ตั้งตระหง่านอยู่เบื้องหน้า อุณหภูมิบนนี้ต่ำกว่า 10 องศา ไอน้ำจากเครื่องดื่มร้อนเป็นควันขาวลอยแทรกคนร่วมร้อยที่ใส่เสื้อกันหนาว ทุกคนต่างเตรียมตัวรอดูดาว คืนนี้ท้องฟ้ามืดสนิท ดวงดาวบนทองฟ้าสว่างสดใส ระยิบระยับ เหมือนอยู่ใกล้เสียจนเกือบจับต้องได้ บนดาดฟ้า ผู้คนต่อแถวหลังกล้องดูดาวอย่างไม่ขาดสาย กล้องดูดาว 4 ตัว กระจายกันอยู่ประปราย หันทิศทางไปยัง ดาวศุกร์ กาแลกซี่แอนโดรมีดา โอไรออนเนบิวลา และกระจุกดาวเปิดกระจุกหนึ่ง เสี้ยวของดาวศุกร์มองเห็นได้ชัดเจนสว่างสดใสเหมือนเสี้ยวของดวงจันทร์ กาแลกซี่แอนโดรมีดาสวยงามมองเห็นเป็นฝ้าขาวเข้มตรงกลางและค่อย ๆ จางลงทางด้านข้าง โอไรออนเนบิวลามีดาว 4 ดวงสว่าง เรียงตัวกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู [Trapezium] ถูกรายล้อมด้วยละอองฝุ่นและก๊าซ ส่วนกระจุกดา...

สิ่งที่เห็นจริง vs ภาพจากอินเตอร์เน็ต

รูปภาพ
เคยสงสัยไหมครับว่าวัตถุบนท้องฟ้าที่เห็นผ่านกล้องดูดาวนั้น ทำไมจึงไม่มีสีสันสวยงามสดใสเหมือนกับภาพที่เราเห็นตามอินเตอร์เน็ต? คำตอบก็คือ "มันเป็นข้อจำกัดของตามนุษย์" มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ใช้ชีวิตในเวลากลางวัน ดังนั้นตาของเรานั้นจึงถูกออกแบบมาให้ใช้มองเห็นได้ดีในเวลากลางวัน จอประสาทตาของเราประกอบไปด้วยเซลล์รูปแท่ง [rod cells] ที่ไวต่อแสงที่มีความเข้มน้อย ทำให้เราเห็นภาพเป็นขาวดำ และเซลล์รูปกรวย [cone cells] ที่ไวต่อแสงที่มีความเข้มมาก ทำให้เราเห็นภาพเป็นสี ในที่แสงสลัวเราจะมองเห็นวัตถุเป็นขาวดำเนื่องจากแสงมีความเข้มไม่พอไปกระตุ้นให้เซลล์รูปกรวยทำงานได้ แต่ในที่สว่างๆ เราจะมองเห็นวัตถุเป็นสีเพราะแสงมีความเข้มมากพอ คราวนี้เมื่อเราส่องดูวัตถุบนท้องฟ้าเช่นเนบิวลาหรือกาแลกซี่ วัตถุเหล่านี้มีความสว่างน้อยมาก เราจึงมองเห็นวัตถุดังกล่าวเป็นขาวดำ มีเพียงดาวเคราะห์และดาวฤกษ์เท่านั้นที่สว่างพอ และทำให้เรามองเห็นเป็นสีได้ ส่วนภาพต่าง ๆ ที่เห็นตามอินเตอร์เน็ตนั้นเกิดจากการเปิดหน้ากล้องไว้นาน ๆ ทำให้เซ็นเซอร์ของกล้องรับความเข้มแสงสีมากขึ้นเรื่อย ๆ จนภาพเป็นสี ซึ่งตาเราไม่ได้ท...